วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554


วันวิสาขบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นการบูชาพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นการระลึกถึง
วันคล้ายวันประสุติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน
พระพุทธคุณ ๓ ประการ

พระปัญญาธิคุณ คือ พระพุทธองค์ทรงมีพระปัญญารอบรู้ถึงความจริงแห่งสิ่งทั้งหลายทั้งปวง
ความเป็นจริงของสิ่งเหล่านั้นว่าเป็นอย่างไร ก็ทรงทราบชัดถึงความจริงเหล่านั้น และนำความจริง
เหล่านั้นมาเปิดเผยชี้แจงแสดงแก่โลก ตามพื้นเพแห่งอัธยาศัยของบุคคลเหล่านั้น
พระบริสุทธิคุณ คือ พระพุทธองค์ทรงมีพระทัยบริสุทธิ์ สะอาดหมดจด จากอาสวะกิเลสเครื่องเศร้าหมอง
ทั้งหลาย ไม่มีความขุ่นมัวเศร้าหมองภายในพระทัยทรงดำรงอยู่อย่างคงที่ ไม่แปรผัน ท่ามกลางอารมณ์
ที่กระแทกกระทั้นจากภายนอก ไม่ว่าจะดีหรือร้ายแต่พระทัยของพระพุทธเจ้าก็บริสุทธิ์อยู่มั่นคง
อยู่อย่างนั้นไม่แปรผัน
พระมหากรุณาธิคุณ คือ ทรงกอปรด้วยความกรุณาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่ทรงเลือกชาติชั้นวรรณะ
แต่ประการใด แม้แต่ในศีลของพระองค์ก็ทรงบัญญัติให้คนงดเว้นไม่ทำสิ่งมีชีวิตให้ตกล่วงไป และทรงแนะ
ให้แผ่เมตตาจิตต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข อันเป็นเป้าหมายของการดำรงชีวิต
ของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ประสูติ
ณ ลุมพินีสถาน ตรงกับวันเพ็ญ เดือนวิสาขมาส (ตรงกับ วันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี)
ทรงเปล่งอาสภิวาจา (วาจาประกาศความเป็นผู้สูงสุด) ขึ้นว่า
อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส เชฏฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส เสฏฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส.
อยมนฺติมา ชาติ. นตฺถิทานิ ปุนพฺภโว.

คำแปล : เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก, เราเป็นผู้เจริญที่สุดแห่งโลก, เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดแห่งโลก. ชาตินี้ เป็นชาติสุดท้าย. บัดนี้ ภพใหม่ย่อมไม่มี ดังนี้
ตรัสรู้
1.ปฐมยาม ทรงบรรลุ “ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ” คือ ทรงสามารถระลึกชาติได้
2.มัชฌิมยาม ทรงบรรลุ “จุตูปปาตญาณ” คือ รู้การตายการเกิดของสัตว์ทั้งปวง หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่าได้ ทิพยจักษุญาณ คือ ตาทิพย์
3.ปัจฉิมยาม พระองค์ได้ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท คือ ธรรมที่อาศัยซึ่งกันและกัน เกิดขึ้นเป็นเหตุเป็นผลของกันและกันต่อเนื่องเสมือนกับลูกโซ่ จนได้รู้แจ้งซึ่งอริยสัจธรรม 4 ประการ คือ
1.ทุกข์ ความทุกข์ สภาวะที่ทนได้ยาก ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ (ปัญหา)
2.สมุทัย สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ (สาเหตุของปัญหา)
3.นิโรธ ความดับไปซึ่งต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ (จุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหา)
3.มรรค หนทางที่จะดับทุกข์ได้ (วิธีการแก้ปัญหา)
1. สัมมาทิฏฐิ
2. สัมมาสังกัปปะ
3. สัมมาวาจา
4. สัมมากัมมันตะ
5. สัมมาอาชีวะ
6. สัมมาวายามะ
7. สัมมาสติ
8. สัมมาสมาธิ

ปรินิพพาน
ณ ร่มไม้รัง (ต้นสาละ) คู่ ในสาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินารา เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๑ ปี
ปัจฉิมโอวาท
“ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนท่านทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อม ความสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลาย จงบำเพ็ญไตรสิกขา คือศีล สมาธิ ปัญญา ให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด”

ความหมายและความสำคัญ
1.เป็นวันที่ ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ตรงกับวันขึ้น15ค่ำ เดือน 6
2.วันวิสาขบูชา ถือว่าเป็นวัน “พระพุทธ”เพราะเป็นวันที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า
3.องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็น ”วันสำคัญสากลของโลก’ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2542

กิจที่พึงทำในวันวิสาขบูชา
-ทำบุญตักบาตร
-เข้าวัดฟังเทศน์ รักษาศีล
-เวียนเทียน